วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

คลิปวีดิโอ


พี่รักษ์พล เจ้าของไร่แคนตาลูป




สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
แคนตาลูป โดย พนัทพล อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ.

ภาพบรรยากาศที่ไร่แคนตาลูป










สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
แคนตาลูป โดย พนัทพล อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ.

โรคและแมลงศัตรูที่เป็นภัยต่อแคนตาลูป

   เรื่องโรคเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของแคนตาลูป หากปล่อยละเลยอาจทำให้ได้รับความเสียหายจนไม่อาจเก็บเกี่ยวผลได้เลยเที่ยว

   โรคราน้ำค้าง จะเข้าไปทำลายทางใบและเจริญเติบโตเข้าไประหว่างเซลล์ของใบ อาการเริ่มต้นจะแสดงให้เห็นที่ใบ เกิดเป็นจุดสีเหลืองหรือสีดำขนาดเล็กและค่อยขยายเป็นวงกว้างและเต็มใบในที่สุด


(ใบที่โดนโรคราน้ำค้าง)

   โรคเหี่ยว เกิดจากเชื้อราฟูราเซี่ยมซึ่งอาศัยอยู่ในดิน จะเข้าไปทำลายในลำต้น อาการเริ่มต้นมีหลายแบบ เช่น ต้นแตก เกิดการเน่าที่โคนและตามซอกใบ
   ไวรัส เป็นเชื้อที่สามารถทำลายแคนตาลูปได้ทุกระยะ อาการเริ่มต้นปรากฎใบบนยอดหหรือใบบนๆ ใบมีจุดสีแดงกระจายไปทั่วใบ ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองใบอ่อนจะไม่เติบโต ขอบใบมีสีแดง ต้นชะงักการเจริญเติบโต ติดต่อกันได้เร็วมาก โดยเฉพาะการปลูกใกล้กันมาก แมลงจะเป็นตัวนำ ถ้าใบเสียดสีกันสามารถจะถ่ายทอดโรคได้
   โรคแอนแทรคโนส  โดยมากจะพบกับผลหลังการเก็บเกี่ยวไปแล้ว เป็นจุดฉ่ำน้ำเล็กๆ ที่ผิวแล้วขยายใหญ่ลึกลงไป ป้องกันได้โดยอย่าให้ผิวของผลชื้น
   โรคผลเน่า มักเกิดผลที่ผิวสัมพัสกับดินหรือผลที่มีความชื้นที่ผวมากเกินไป
   ผลแตก เกิดจากการได้รับน้ำมากเกินไปขณะผลใกล้สุก ซึ่งมักเกิดจากฝนตกขณะใกล้เก็บ
  ไส้เดือนฝอย เข้าไปทำลายแคนตาลูปตั้งแต่ในระยะต้นกล้า อาจติดมากับดินที่ผสมกล้าปลูกแคนตาลูป ไส้เดือดจะเข้าไปทำลายระบบราก ป้องกันโดยใช้สารคาร์โบฟูแรนผสมในดินที่ใช้เพาะกล้า
   เพลี้ยไฟ จะเข้าไปดูดน้ำเลี้ยงจากยอด ทำให้ยิดหงิกงอ ต้นชะงัการเจริญเติบโต ผิวของแคนตาลูปมีตำหนิไม่สวยงาม ราคาตก ป้องกันโดยใช้สารพวกโมโนโคโตฟอส ฉีดพ่นสลับยาฆ่าแมลงอื่นๆ
   แมลงวันทอง ตัวเมียแมลงวันทองจะวางไข่ผลทุกระยะหรืออาจเข้าวางไข่ที่ต้นก็ได้ ทำให้เป็นแผลที่ลำต้น ลำต้นหัก การว่างไข่เมื่อเกิดเป็นตัวหนอนจะทำให้ใบและผลเสียหายได้ ป้องกันได้โดยใช้หนังสือพิมพ์ห่อผล ไล่แมลงวันทองโดยใช้ลูกเหม็น
   พวกเต่าแตงและหนอนผีเสื้อ ชอบกัดกินทำลายใบยอดอ่อนและกัดกินผิวของผลทำให้ผลเกิดตำหนิแมลงพวกนี้ยังเป็นตัวนำเชื้อไวรัสด้วย ป้องกันดดยการฉีดยาฆ่าแมลง
    


   แม้ในปัจจุบันนี้แคนตาลูปได้ถูกปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะสมสำหรับปลูกในเมืองไทยได้ดีกว่าแต่ก่อนนี้มากแต่ปัญหาเรื่องโรคก็ยังเป็นปัญหาที่สำคัญไม่แพ้ในอดีต การทราบถึงโรคต่างและศัตรูต่างๆของแคนตาลูป พร้อมทั้งวิธีแก้ไขล่วงหน้า เป็นการเตรียมพร้อมจะทำให้การปลูกแคนตาลูปมีผลดียิ่งขึ้น


สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
แคนตาลูป โดย พนัทพล อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ.

การเก็บเกี่ยว

   ตั้งแต่ปลูกแคนตาลูปจนถึงระยะการเก็บเกี่ยวผลจะใช้เวลาประมาณ 75-130 วัน หรือหลังจากดอกบานประมาณ 45 วัน การเก็บเกี่ยวแคนตาลูปต้องอาศัยความชำนาญ ความรู้ ความสามารถ และจากประสบการณ์ก่อนเก็บแคนตาลูปควรงดให้น้ำประมาณ 2 วัน เพื่อเป็นการเร่งให้สุกเร็วขึ้นและเป็นการป้องกันเกี่ยวกับผลแตกและเป็นการรักษาความหวาน


   สำหรับการสุกของผลแคนตาลูปนั้น ในแต่ละพันธุ์สุกไม่พร้อมกัน แม้แต่พันธุ์เดี่ยวกันอยู่ในต้นเดี่ยวกันยังสุกไม่พร้อมกันได้ ธรรมชาติของแคนตาลูปได้สร้างเครื่องหมายเอาไว้ให้สังเกตว่าถึงเวลาที่จะได้ทำการเก็บเกี่ยวแล้วได้ โดยสังเกตได้จาก
   1.ตาข่ายที่ขึ้นอยู่รอบๆผล จะมีลักษณะแข็งและเห็นเป็นรอยนูนเด่นชัดขึ้น
   2.กลิ่นของแคนตาลูป ผลที่สุกแล้วจะมีกลิ่นหอมของแต่ละพันธุ์
   3.สีของแตง แตงแคนตาลูปบางพันธุ์เมื่อใกล้สุกสีจะเปลี่ยนไปจากสีเขียวเป็รสีครีมนวล เช่น พันธุ์ฮันนี่คิว ผลจะนุ่มขึ้น
   4.ขั้วของผล บริเวณรอยต่อกับขั้วผล ถ้ามีรอยร้าวเกิดขึ้น แสดงได้ว่าแคนตาลูปสุกสามารถเก็บได้แล้ว

   วิธีการเก็บผลแคนตาลูป ให้ใช้กรรไกรตัดกิ่งหรือใช้มีดก็ได้ ตัดที่เถาของแตง โดยให้เถาติดมา 3-4 เซนติเมตร แคนตาลูปที่ไม่มีขั้วจะขายได้ในราคาที่ไม่ดี
   หลังจากที่เก็บผลมาแล้ว ให้ใช้ผ้าชุปน้ำเช็ดผลให้สะอาด ถ้าอยากให้เก็บได้นานๆควรเอาไว้ในที่ค่อนข้างเย็นจะสามารถแคนตาลูปได้นาน 1-3 สัปดาห์




สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
แคนตาลูป โดย พนัทพล อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ.

การเพาะกล้าและการปลูก

   การเพาะกล้า

   แคนตาลูปเป็นพืชต่างประเทศที่หาซื้อเมล็ดตามท้องตลาดทั่วไปไม่ค่อยได้ แต่มีจำหน่ายเฉพาะบริษัทค้าเมล็ดพันธุ์โดยตรงแคนตาลูปมีราคาแพงกว่าพืชทั่วไปหลายเท่าตัว การปลูกจึงต้องทำอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้มีการตายสูง การปลูกแคนตาลูปไม่นิยมเพาะเมล็ดลงไปในแปลงปลูกโดยตรงเหมื่อนพืชตระกูลแตงทั่วไป จะต้องเพาะให้เป็นต้นกล้าก่อนแล้วจึงนำไปลงแปลงปลูก

   1.นำเมล็ดแช่ในสารกันเชื้อราแช่นานครึ่งชั่วโมงและนำไปแช่นำธรรมดาอีก 2-3 ชั่วโมงหรือไม่แช่ก็ได้
   2.นำเมล็ดใส่ในถุงที่เจาะเป็นรูๆเพื่อระบายน้ำและพับปากถุงไว
   3.นำผ้าขาวบางที่มีน้ำบิดหมาดๆมาคลุมถุงเพาะเมล็ดไว้และนำไปตากแดดประมาณ 24 ชั่วโมง ต้นกล้าจะเริ่มงอกขึ้นมาก ประมาณ 0.5 เซนติเมตร
   4.ย้ายต้นกล้าจากถุงเพาะเมล็ดมาใส่ในถุงดำที่เตรียมดินไว้แล้ว รดน้ำวันละ 2 ครั้งเช้าเย็นทำอย่างสม่ำเสมอ ต้องระวังถ้าแฉะเกินไปอาจจะทำให้รากเน่าได้
   5.เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 3-4 ใบ ก็พร้อมที่จะลงแปลง ควรย้ายต้นกล้าในช่วงเย็นเพราะแดดไม่แรงไปแล้วช่วงกลางคื่นพืชจะปรับตัวเข้าสภาพแวดล้อม

   การให้น้ำ

   ไม่ว่าพืชชนิดใดการให้น้ำเป็นสิ่งสำคัญแคนตาลูปก็เช่นเดี่ยวกันถ้าขาดน้ำจะทำให้การเจริญเติบโตของพืชชะงัก แคนตาลูปควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรมากเกินไป ในระยะแรกๆควรให้น้ำบ่อยๆเพื่อให้ต้นแคนตาลูปเจริญเติบโตได้ดี ช่วงกำลังออกดอกควรลดการให้น้ำเพื่อให้แคนตาลูปติดผลดีขึ้น ถ้าฝนไม่ตกก็ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรให้น้ำแบบสปริงเกอร์เพราะจะทำให้โรคแพร่ระบาดได้ง่าย ดังนั้นจึงควรใช้แบบสายน้ำหยดในการปลูกดีที่สุด




สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
แคนตาลูป โดย พนัทพล อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ.

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

พันธุ์แคนตาลูปที่นิยมปลูกในประเทศไทย

   พันธุ์แคนตาลูปที่นิยมปลูกในปัจจุบันเป็นสายพัธุ์จากประเทศไต้หวัน เป็นสายพันธุ์ลูกผสมไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์มาปลูกต่อได้ เป็นพันธุ์เบา อายุการเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 65 วัน มีความหวานสูง เก็บได้นานทดทานต่อการขนส่ง

   1.พันธ์ซันเลดี้ (Sun Lady) อายุเก็บผลนับจากวันหยอดเมล็ด 65 วัน ผลสีครีมอมชมพู เนื้อสีส้มอมชมพู ผิวแข็งไม่มีลายห่อหุ้มทนทานต่อการขนส่ง
   2.พันธุ์เจดดิว (Jade Dew) ผลสีขาวครีมมีตาข่ายรอบผลเล็กน้อยเนื้อสีขาว มีกลิ่นหอมคลายแตงไทย อายุเก็บเกี่ยว 60 วัน
   3.พันธุ์สกายร็อคเก็ต (Sky Rocket) ผลสีเขียว เวลาสุกสีอมเหลืองมีลายรอบผล เนื้อสีขาวอมเขียว อายุเก็บเกี่ยว 75 วัน
   4.พันธุ์ฮันนี่เวิลด์ (Honey World) ผลสีขาวครีมเนื้อสีขาวอมเขียว ผลโต 2-3 กิโลกรัม ไม่มีกลิ่น รสหวาน มีชื่ออื่นว่าฮันนี่ดิว (Honey Dew) ไม่ถือว่าเป็นแคนตาลูป แต่เป็นตระกูลเดียวดันปลูกเหมื่อนกัน อายุเก็บเกี่ยว 80-85 วัน

(แคนตาลูปพันธุ์ฮันนี่เวิลด์ อายุก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน)


   5.พันธุ์นิวเซนต์จูรี (New Century) ลักษณะผลกลมยาว สีเขียว ผลแก่สีเขียวอมเหลือง เนื้อสีส้มอมชมพู ไม่มีกลิ่นเนื้อหวานกรอบ อายุเก็บเกี่ยว 80-85 วัน

   พันธุ์ที่ปลูกง่ายและขายได้ง่ายในเวลานี้คือ พันธุ์ซันเลดี้ ส่วนพันธุ์อื่นๆจะยากในการปลูกและการขายและในฤดูหนาวผลแคนตาลูปอาจจะเล็กลงและอายุการเก็บเกี่ยวจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 5 วัน


สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
แคนตาลูป โดย พนัทพล อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ.

ประวัติแคนตาลูป :D

   แคนตาลูปเป็นพืชตระกูลแตงที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลานานมาแล้ว ก่อนหน้านั้นเรียกว่า แตกเทศ หรือ แตงฝรั่งและเนื่องจากคลายแตงไทยของบ้านเราจึงทำให้คนบางคนเรียกว่า แตงไทยฝรั่ง
แคนตาลูปเป็นพืชตระกลูเดี่ยวกับ แตงกวา ฟักแฟง แตงหอม แตง โม 


   แคนตาลูปได้นำทดลองเข้ามาปลูกในไทยเมื่อประมาณ พ.ศ.2478  โดยมีการพัฒนาการปลูกมาอย่างต่อเนื่องรวมถึงการพัฒนาเทคนิคควบคุมการผลิตให้มีผลที่แน่นอนมากขึ้น ปัจจุบันมีการผลิตแพร่หลายมากขึ้นและได้ส่งขายไปยังต่างประเทศ
   
   ถ้านับย้อนไปก่อนปี พ.ศ.2478 ซึ่งมีการนำแคนตาลูปเข้ามาปลูกในประเทศไทยแล้ว จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ก็นับเป็นเวลานานมาก แต่การปลูกอย่างได้ผลจริงจังนั้นเพิ่งเริ่มได้เมื่อประมาณ 10 กว่าปีเท่านั้นเอง สรุปได้ว่าในแง่ของผู้ปลูกทั่วไปนั้นแคนตาลูปยังจัดว่าเป็นพืชใหม่อีกชนิดหนึ่ง



สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
แคนตาลูป โดย พนัทพล อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ.